https://thaistudyabroad.com

ข้อมูลประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: France [fʀɑ̃s] ฟร็องส์) หรือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L’Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย

ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ (Metropolitan France – “France métropolitaine, la Métropole, l’Hexagone”) แบ่งการปกครองออกเป็น

  • 13 แคว้น (regions – régions)

โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่

  • 5 จังหวัดโพ้นทะเล (Départements d’outre-mers: DOM) ได้แก่ กัวเดอลุป (Guadeloupe) เฟรนช์เกียนา (French Guiana) มาร์ตีนิก(Martinique) เรอูว์นียง (Réunion) และมายอต (Mayotte) ทั้งห้าดินแดนมีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน
  • 4 เขตชุมชนโพ้นทะเล (Collectivités d’outre-mer) ได้แก่ แซงปีแยร์และมีเกอลง (Saint Pierre and Miquelon) วาลลิสและฟุตูนา(Wallis and Futuna) แซ็ง-บาร์เตเลมี (Saint Barthélemy) และแซ็ง-มาร์แต็ง (Saint Martin)
  • 1 ประเทศโพ้นทะเล (Pays d’outre-mer: POM) ดินแดนแห่งเดียวของฝรั่งเศสที่ได้รับการเรียกชื่อนี้คือ เฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งเคยเป็นดินแดนโพ้นทะเล (TOM) มาก่อน แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตบริหารย่อย
  • 1 เขตชุมชนรูปแบบพิเศษ (Collectivité sui generis) คือ นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) เคยมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลมาจนถึงปี พ.ศ. 2542 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด (provinces) ได้แก่ จังหวัดนอร์ ซูด และอีลลัวโยเต
  • 1 ดินแดนโพ้นทะเล (Territoires d’outre-mer: TOM) คือ เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (French Southern and Antarctic Lands) โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต (districts) ได้แก่ หมู่เกาะแกร์เกแลน (Kerguelen Islands) หมู่เกาะครอเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซ็ง-ปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) และอาเดลีแลนด์ (Adelie Land)
  • ดินแดน 5 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างถาวร รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกระจายหรืออีลเซปาร์ส (Îles Éparses) ได้แก่ บาซัสดาอินเดีย (Bassas da India) ยูโรปา (Europa) ฌุอ็องเดอนอวา (Juan de Nova) โกลรีโอโซ (Glorioso) และตรอมแล็ง (Tromelin) ทั้งหมดถูกปกครองโดยจังหวัดโพ้นทะเลเรอูว์นียง
  • เกาะที่ไม่มีผู้อาศัย 1 แห่ง คือ เกาะกลีแปร์ตอน (Clipperton) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ปกครองโดยข้าหลวงใหญ่สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นโพ้นทะเลเฟรนช์โปลินีเซีย

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของฝรั่งเศสใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก สัดส่วน GDP ของฝรั่งเศสมีถึง 5% ต่อ GDP รวมทั่วโลกและ 6% ของการค้าโลก
 

ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ของยุโรป และเป็นอันดับ 2 ของโลก ถือเป็นประเทศที่มีกำลังสำคัญต่อความเติบโตของเศรษฐกิจโลกประเทศหนึ่ง


ฝรั่งเศส:

– ประเทศผู้นำการผลิตสินค้าหรูหรา
– ประเทศผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและการเกษตร
– ประเทศผู้มีอำนาจการผลิตสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก

อุตสาหกรรมที่ทันสมัย

บริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส 39 บริษัท ได้รับการจัดอันดับอยู่ในรายชื่อ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น

– ด้านเกษตรและอาหาร (Danone)
– ด้านแฟชั่น, สินค้าหรูหราและเครื่องสำอาง (Louis Vuitton, Yves Saint-Laurent, Chanel, Dior, L’Oréal)
– ด้านยานยนต์ (Peugeot, Citroën, Renault) และยางรถยนต์ (Michelin)
– ด้านไฟฟ้า (Thlès, Thomson)
– ด้านการบินและอวกาศ (Airbus, Dassault)

 “ใน 5 ปีที่ผ่านมามีธุรกิจมากกว่าล้านธุรกิจที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศส”

 

การขนส่งและการสื่อสารโทรคมนาคม

รถไฟ TGV ของฝรั่งเศสยังคงครองตำแหน่งรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก และเนื่องจากการรวมกิจการกับ KLM แอร์ฟรานซ์จึงกลายเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งดิจิตอล บริษัท Alcatel เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลดิจิตอล ส่วน Orange ถือได้ว่าเป็นผู้ให้บริการดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสและยังใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก

ระบบการประกันสังคมของฝรั่งเศสได้รับการยอมรับทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพสูง

 ในแง่ของการประกันสังคมฝรั่งเศส นักศึกษาฝรั่งเศสและนักศึกษาต่างชาติได้รับประโยชน์จากระบบการประกันสังคมที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้รับสิทธิของประกันสังคมนักศึกษานั้นจำเป็นต้อง
  • ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรอง
  • มีอายุน้อยกว่า 28 ปีในวันที่ 1 ตุลาคมของปีการศึกษาปัจจุบัน

การเข้าเป็นนักศึกษาตามสถาบันการศึกษาโดยสมบูรณ์เมื่อมีการลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้ว ค่าลงทะเบียนต่อปีอยู่ที่ประมาณ 200 ยูโร

**นักเรียนทุนได้รับการยกเว้นการจัดเก็บนี้

การประกันสังคมชดเชยคืนให้โดยเฉลี่ย 70% ของค่ารักษาพยาบาล

การให้บริการด้านสุขภาพแก่นักศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศฝรั่งเศสมี “บริการระหว่างมหาวิทยาลัยด้านเวชศาสตร์ป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพ”

การบริการเหล่านี้ได้แก่ การที่แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยามาเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาข้อมูลทางการแพทย์ต่างๆแก่นักศึกษาตลอดทั้งปี

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก

นักศึกษาชาวต่างชาติมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับนักศึกษาชาวฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่จัดโครงการการช่วยเหลือดังกล่าว
การช่วยเหลือนี้มีการคำนวณตามจำนวนเงินของค่าเช่าและตามข้อมูลของนักศึกษา ดังนั้นการจัดหาทุนช่วยเหลือจึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างทันทีและจำนวนเงินที่จัดให้ก็พิจารณาเป็นกรณีไป

เงินช่วยเหลือค่าที่พัก มีอยู่ 2 ประเภท (มิอาจเบิกได้พร้อมๆกัน) ดังนี้ :

– Allocation de logement à caractère sociale(ALS)

– Aide personnalisée au logement (APL)

ในกรณีของการเช่าร่วมกับเพื่อน แต่ละคนสามารถขอเงินช่วยเหลือค่าที่พักได้โดยใช้สัญญาเช่าคนละชุด ในทางตรงกันข้าม คู่สามีภรรยาดำเนินการเรื่องขอด้วยเอกสารชุดเดียวกัน

การยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือที่พักสามารถดำเนินการได้โดยตรงจากทางเว็บไซต์ Caisse d’allocation familiale (CAF) ภายในระยะเวลาสามเดือน หลังจากที่เข้าอาศัยในหอพักนั้นๆ

 

Powered by Facebook Comments free add-on for most feature packed social sharing plugin for WordPress Easy Social Share Buttons

Leave A Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com
error: Content is protected !!
Send this to a friend